วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เรื่อง Internet of Things (IoT) เทรนด์ที่หลายคนกำลังพูดถึง คืออะไร มาหาคำตอบกัน


Internet of Things หรือ IoT คือ อะไร 

              IoT : Internet of Things (บางทีเรียก IoE : Internet of Everything) หรือ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง” หมายถึง การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถ
สั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร 
อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

              IoT มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2M ย่อมาจาก Machine to Machine คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน 

             เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์
และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ
และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย

            ในปัจจุบันมีการนำ IoTมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ มากมาย เว็บไซต์ IoT Analytics ได้ทำการสำรวจและจัดอันดับ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตยอดนิยมหลักๆ  ได้แก่ สถิติการค้นหาใน Google การแชร์บน Twitter และ จากการที่มีคนพูดถึงบน Linkedin เรามาดูกันว่า 10 อันดับที่มีการประยุกต์ใช้มากสุดมีอะไรกันบ้าง

แนวคิด Internet of Things

             แนวนิด Internet of Things นั้นถูกคิดขึ้นโดย Kevin Ashton ในปี 1999 ซึ่งเขาเริ่มต้นโครงการ  Auto-ID Center ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT จากเทคโนโลยี RFID ที่จะทำให้เป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับ RFID Sensors ต่างๆที่จะเชื่อมต่อกันได้ ต่อมาในยุคหลังปี 2000 โลกมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมากและมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ smart device, smart grid, smart home, smart network, smart intelligent transportation ต่างๆเหล่านี้ล้วนมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกันโดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart devices ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วมันยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วยโดย Kevin นิยามมันไว้ตอนนั้นว่าเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสื่อสารพูดคุยกันเองได้ ซึ่งศัพท์คำว่า “Things” ก็แทนอุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้นั่นเอง


แบ่งกลุ่ม Internet of Things

ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม Internet of Things ออกตามตลาดการใช้งานเป็น 2 กลุ่มได้แก่
  1. Industrial IoTคือ แบ่งจาก local network ที่มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะเชื่อมต่อแบบ IP network เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
  2. Commercial IoTคือ แบ่งจาก local communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (wired or wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต

อ้างอิงข้อมูลจาก :

  • http://blog.sogoodweb.com/Article/Detail/59554
  • https://www.voathai.com/a/the-internet-of-things-nm/2836358.html
  • http://www.veedvil.com/news/internet-of-things-iot/
  • https://goo.gl/ZnL02K

วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หัวข้อการ สอน image processing ภาษาซี ที่น่าสนใจ

 


หัวข้อการ สอน image processing ที่น่าสนใจ

  • ซอฟต์แวร์รู้จำตัวอักษรภาษาไทย (Thai OCR) ซึ่งมีในหลักสูตร อบรม image processing ตามตัวอย่างคลิบด้านล่าง
  • ระบบประมวลผลภาพเพื่อการจราจร (Intelligent Transport System) ซึ่งมีในหลักสูตร อบรม image processing ด้านล่าง
  • ระบบรู้จําป้ายทะเบียนรถ  (License plate recognition) (ดูดีวีดีจบ ทำได้ทันที)
  • ระบบสืบค้นข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia search system) (ดูดีวีดีจบ ทำได้ทันที)
  • เครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ สําหรับงานทันตกรรม (Development of CT Scanner for Dentisty) (ดูดีวีดีจบ ทำได้ทันที)
             LabWindows/CVI เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับงานด้านวิศวกรรม และกระบวนการผลิตโดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมก็ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะเป็นการเขียนโดยใช้ภาษาซีทั่วๆไป จึงเรียนรู้ได้รวดเร็วและพัฒนาได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับช่าง และวิศวกรที่ไม่ได้ เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมในเชิงลึก แต่ต้องการสร้างซอฟต์แวร์เฉพาะทาง และติดต่อกับ Hardware หลากหลายรูปแบบเพื่อช่วยงานของตนโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียน และ พัฒนามากจนเกินไป

เราสามารถใช้ประโยชน์จาก LabWindows/CVI

  •  ใช้ทดแทน PLC
  •  ใช้บันทึกและควบคุมตัวแปรในกระบวนการผลิต เช่น อุณหภูมิ, ความดัน, ความชื้น ฯลฯ
  •  ใช้ควบคุมคุณภาพ และลดของเสียในกระบวนการผลิต
  •  ใช้จำลองการทำงานของระบบ
  •  ใช้ในการตรวจสอบสิ่งบกพร่องในผลิตภัณฑ์ด้วยกล้องแทนการใช้สายตาคน
  •  ใช้ในการเฝ้าระวังและบำรุงรักษาเครื่องจักร
  •  ใช้ตรวจสอบหาสาเหตุการหยุดของเครื่องจักร
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
  • http://keil-cvi.com/

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

รับทำเมนูอาหาร ออกแบบครบวงจร

รับทำเมนูอาหาร ออกแบบครบวงจร

เมนูอาหาร เป็นภาพลักษณ์ และ เป็นหน้าตาของร้านที่ลูกค้าทุกคนได้เห็น และ ได้สัมผัส แต่ความจริงแล้ว มันเป็นได้มากกว่านั้น เรามาลองวิเคราห์ดูว่า เมนูอาหาร นอกจากที่จะมีไว้ให้ลูกค้าดูรายการอาหารมัน มีความลึกลับซ่อนอยู่อย่างไรบ้าง

  • เมนูอาหารที่ดี ทำให้พนักงานไม่ยุ่ง เมนูที่ดีต้องมีภาพอาหารประกอบ และ รายละเอียดอาหาร เช่น ขั้นตอนการทำ และ ส่วนประกอบ ตามเมนูจะดีมาก ได้ข้อมูลครบ และ ลูกค้าเข้าใจทั้งหมด ไม่ต้องเรียกพนักงานให้อธิบายบ่อยๆ ยิ่งตอนร้านยุ่งๆด้วยแล้ว การทำให้เมนูพูดได้ด้วยจากตัวมันเอง เป็นการลดงานยุ่งๆให้กับพนักงานได้มาก
  • ออกแบบ เมนูอาหารให้ดี ไม่ต้องขยายร้าน เริ่มจากการแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ให้ดูง่าย  แต่คุณก็ต้องหลีกเลี่ยงการจัดหมวดหมู่ที่มากเกินไป ต้องดูเหมาะสม และ การมีเมนูหลายเล่ม อาจทำให้ลูกค้าสับสน การรวมเมนูอาหารไว้ในเล่มเดียว และออกแบบหมวดหมู่ให้ดี จะทำให้ลูกค้าของคุณสั่งอาหารเร็วขึ้น และ ไปปรับปรุงการเสริฟอาหารให้เร็ว จะประหยัดเงินจำนวนมากที่จะต้องใช้ขยายร้านได้ คียเวิรด์คือ สั่งเร็วขึ้น เสริฟเร็วขึ้น ลุกจากโต๊ะเร็วขึ้น รับลูกค้าได้มากขึ้น
  • ทราบหรือไม่ การไม่ใส่ราคาอาหาร ผิดกฎหมาย ควรมีราคาให้ชัดเจน เพื่อความสบายใจของลูกค้า ร้านค้าไม่ตั้งใจหลอกลวงครับ เราทราบดี ส่วนมาก ที่ไม่ใส่ราคาเพราะ เปลี่ยนราคาบ่อย ทำให้สิ้นเปลืองต้องพิมพ์เมนูบ่อย แต่สักวัน สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคก็จะไปเยี่ยมคุณถึงที่ร้าน และ มันจะเป็นบทเรียนราคาแพงทีเดียว
  • โลกหมุนรอบตัวเองทุกวัน เมนูอาหารก็เช่นกัน อัพเดทเมนูใหม่ๆเป็นระยะ เพื่อความไม่ซ้ำซากจำเจ แสดงถึงความสดใหม่ของอาหาร และ ควรเสนอความน่าสนใจจากวัตถุดิบใหม่ๆ อาจเป็นพวกอาหารประจำฤดูกาลสัก 2-3 อย่าง
  • มืออาชีพส่วนใหญ่ จะมีเมนูภาษาต่างชาติ หากร้านอาหารของคุณ อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว คุณควรเตรียมเมนูอาหารที่เป็นภาษาต่างชาติไว้ เพื่อความสะดวกแก่ทั้งตัวลูกค้า และพนักงานของ ที่จะต้องรองรับลูกค้าคุณได้เป็นอย่างดี ยิ่งถ้าคุณรู้ว่าพนักงานภาษาไม่ดี ก็ยิ่งควรเตรียม เมนูอาหาร ให้ดีมากขึ้น
  • ทดลองตลาด ก่อนปรับเมนู โปรโมทอาหารเด่นประจำวัน หรือ การลดราคาพิเศษแต่ละวันที่ไม่ซ้ำกัน และ ทดลองให้ชิมฟรี และ พยายามสังเกตุผลตอบรับครับ กรณีตัวอย่าง ร้านกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks Coffee  จะมีเครื่องดื่มใหม่ๆมาให้เราชิมฟรี ก่อนที่เค้าจะนำมาใส่เมนูขายจริง
  • ไขความลับ ความสำเร็จ เจ้าของร้านทั่วๆไปมัก “ใช้ความรู้สึก” ชี้วัดจำนวนการขาย แต่ สำหรับร้านที่ประสบความสำเร็จ นอกจากทำอาหารให้อร่อยแล้ว เคล็ดลับคือการทำงานหนัก เขาจะจดบันทึก จำนวนการขาย เพื่อที่จะรู้ว่า เมนูไหนขายดีหรือไม่ดี และทำรายงานการขายรายวัน รายเดือน รวมถึง รายปีด้วย ให้เริ่มบันทักตั้งแต่วันนี้ แล้วคุณจะประหลาดใจว่า หลังจากที่คุณทำรายงานการขาย อย่างเป็นระบบ คุณจะมองเห็นธุรกิจร้านอาหารได้อย่างชัดเจน

อ้างอิง

  • http://www.afourleaf.com/menu-secret-th/