มาเรียน ฟิสิกส์ ม.4 ติวฟิสิกส์ สอนฟิสิกส์ เรียนฟิสิกส์ออนไลน์ ฟรีจร้า
เนื้อหาของฟิสิกส์ ม.4 เป็นภาคกลศาสตร์กลศาสตร์อธิบายถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุตั้งแต่วัตถุบนโลกถึงวัตถุทางดาราศาสตร์ กลศาสตร์สามารถบอกผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำและเป็นหนึ่งในวิชาที่เก่าแก่ที่สุดในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กลศาสตร์ดั้งเดิมหรือกลศาสตร์คลาสสิก (Classical Mechanics) ได้รับการพัฒนาโดยนักคิด นักทดลอง นักประดิษฐ์ และนักวิทยาศาสตร์หลายๆท่าน หลักของคานงัดและโมเมนต์ (Moment) เป็นที่รู้และประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานนับพันปี ตั้งแต่สมัยของอาร์คีมีดิส (Archimedes) หลักของแรงและการผ่อนแรงเป็นสิ่งที่รู้และเข้าใจเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างปิรามิดอันยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ดี จุดที่นับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของกลศาสตร์คลาสสิกคือเมื่อ ไอแซก นิวตัน นักปรัชญาธรรมชาติ ชาวอังกฤษ ประกาศกฎการเคลื่อนที่สามข้อในปีคริสต์ศักราช 1687 เป็นผลงานอันลือเลื่อง ในหนังสือพรินสิเปีย นิวตันประสบความสำเร็จในการบรรยายการเคลื่อนที่ของทั้งดวงดาว และของวัตถุบนผิวโลก ได้อย่างแม่นยำอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยการเสนอ กฎแห่งความโน้มถ่วงสากล นิวตันได้พัฒนาคณิตศาสตร์สาขาแคลคูลัส (Calculus) เพื่อใช้ในการคำนวณการเคลื่อนที่ของดวงดาวอันซับซ้อน นิวตันสามารถแสดงให้เห็นว่า กฎกำลังสองผกผัน แห่งความโน้มถ่วงของเขา กำหนดให้ทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงกลม วงรี พาราโบลาและไฮเปอร์โบลา ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่มีวงโคจรเป็นวงรี ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางมีทั้งที่โคจรเป็นวงรี พาราโบลาและไฮเปอร์โบลา โดยการสังเกตและเก็บข้อมูลของวัตถุบนฟากฟ้า เราสามารถใช้กฎของนิวตันทำนายวงโคจรในอดีตและอนาคตของวัตถุเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำ
บทที่ 1 พื้นฐานคณิตศาสตร์
- ปริมาณทางฟิสิกส์
- หน่วย ในระบบนานาชาติ
- เวกเตอร์
- เลขนัยสำคัญ
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แนวตรง
- ปริมาณการเคลื่อนที่ (Quantities of motion)
- สูตรการเคลื่อนที่ (Formulas of Rectilinear)
- การเคลื่อนที่แบบเส้นตรงในแนวดิ่งหรือดิ่งเสรี (Free fall)
- กราฟการเคลื่อนที่เเนวเส้นตรง (Rectilinear motion Graphical Interpretation)
- ระยะทางวินาทีใด ๆ
- ความเร็วสัมพัทธ์ (ชอบออกข้อสอบ)
- วัตถุตกอิสระ (ภายใต้สนามโน้มถ่วง)
- ปล่อยของจากพาหนะ (ชอบออกข้อสอบในวิชาฟิสิกส์ ม.4)
- การเคลื่อนที่ของวัตถุหลายก้อน (ถือว่าไม่ง่าย)
- การเคลื่อนที่วัตถุหลายตอน
บทที่ 3 แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ สมดุลต่อการเคลื่อนที่
- การหาแรงลัพธ์
- การหาแรงลัพธ์ของ 2 แรง
- การหาแรงลัพธ์ของ 3 แรง
- การหาทิศของแรงที่กระทำต่อวัตถุจากลักษณะของการเคลื่อนที่
- กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
- กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1
- กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2
- กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3
- แรงเสียดทาน
- สมดุลของแรง
- สมดุลต่อการเคลื่อนที่(translationalequilibrium)
- สมดุลต่อการหมุน(rotational equilibrium)
- การพิจารณารวมระบบ
- ชั่งน้ำหนัก
- รอก
- พื้นเอียง (ออกข้อสอบเพียบฟิสิกส์ ม.4)
- แรงดึงดูดระหว่างมวล
- ดาราศาสตร์ (เนื้อหาใหม่)
บทที่ 4 สมดุลกล
- สมดุลสถิต (Static Equilibrium)
- สมดุลจลน์ (Kinetic Equilibrium)
- หลักการสมดุล
- ประเภทของสมดุล
- การเลื่อนตำแหน่ง
- การหมุน
- รูปแบบของสมดุล
- สมดุลบนพื้นเอียง VS ขรุขระ
- สมดุลของวัตถุทรงกลม
- สมดุลของคาน
- วัตถุล้ม/วัตถุไถล
- สมดุลของบานพับ
- เครื่องกลในเชิงสมดุล
- จุดศูนย์กลางมวล C.M.
- จุดศูนย์ถ่วง C.G.
บทที่ 5 งานและพลังงาน
- งาน ( Work )
- กำลัง ( Power )
- พลังงาน ( Energy )
- กฎการอนุรักษ์พลังงาน ( Law Of Conservation Of Energy )
- งาน (Work)
- กำลัง (Power)
- พลังงาน (Energy)
- เครื่องกล (Machine)
บทที่ 6 การชนและโมเมนตัม
- ความหมายของโมเมนตัม
- แรงและการเปลี่ยนแปลงทางโมเมนตัม
- การดลและแรงดล
- การหาการดลจากการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม
- การชน
- การชนยืดหยุ่นสมบูรณ์
- การชนแบบไม่ยืดหยุ่น
- การเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางมวล
- ปริมาณเกี่ยวกับโมเมนตัม
- กฎอนุรักษ์โมเมนตัม
- การระเบิด 1 มิติ 2 มิติ ( โครตระยากถ้าไม่เข้าใจเวคเตอร์)
อ้างอิง
- จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (https://th.wikipedia.org/wiki/กลศาสตร์ดั้งเดิม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น